แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ |
|
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด บทบาทของครู คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามมาตรฐานของหลักสูตร บทบาทของนักเรียนเป็นผู้แสวงหา และเรียนรู้ด้วยการคิด การปฏิบัติอย่างแท้จริงให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการสอน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างสถานการณ์การเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพในการคิดเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์การเรียนรู้และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมแก่ผู้เรียน ความหมายของสื่อการสอน ความหมายของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
|
|
หลักการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ |
|
ความสำคัญของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ ประเภทของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ หลักการเลือกสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ หลักการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ การประเมินสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
|
กระทรวงศึกษาธิการ(2545,หน้า 8-9) เมื่อเลือกสื่อการจัดการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาที่กระบวนการจัดการเรียนรู้ แล้วการใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรจะได้ศึกษาหลักการใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ดังนี้ 1. การเตรียมตัวของผู้สอน ผู้สอนจำเป็นต้องเตรียมการในด้านต่างๆ ก่อนที่จะนำสื่อการเรียนรู้ไปใช้ กล่าวคือ 2. การเตรียมจัดสภาพแวดล้อมการใช้สื่อการเรียนรู้บางประเภทจะต้องมีการจัดเตรียมสถานที่หรือห้องเรียน 3. การเตรียมพร้อมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนรู้บางอย่างจำเป็นต้องชี้แจงให้ผู้เรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้โดยใช้สื่อนั้นๆ เป็นการให้ผู้เรียนจะได้เตรียมความพร้อมในการเรียนรู้สื่อนั้นๆ เป็นการให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย และเรียนรู้จะได้เตรียมพร้อมในการเรียนรู้จากสื่อนั้น หากไม่มีการชี้แจงให้รู้ผู้เรียนอาจได้เพียงความเพลิดเพลินหรือเรียนรู้ไม่ตรงตามเป้าหมาย ย่อมเป็นการใช้สื่อที่ไม่คุ้มค่าและเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ หรือในกรณีที่ผู้เรียนจะต้องใช้สื่อด้วยตนเอง ผู้สอนก็ต้องแนะนำวิธีการใช้สื่อนั้นด้วย ที่สำคัญจะต้องบอกว่าผู้เรียนต้องทำกิจกรรมใดบ้างเพื่อจะได้เตรียมตัวได้ถูกต้อง 4. การใช้สื่อการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องใช้สื่อการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนครั้งนั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และให้เกิดการเรียนรู้ที่ต้องการในขณะที่ใช้สื่อใดๆก็ตามจะต้องพิจารณาว่าผู้เรียนมีปฏิกิริยาอย่างไร ผู้เรียนศึกษาด้วยความสนใจและกระตือรือร้น หรือไม่ ปฏิกิริยาของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการเรียนรู้สามารถใช้เป็นเครื่องชี้วัดได้ว่า สื่อการเรียนรู้นั้นมีความเหมาะสมกับกิจกรรมและผู้เรียนเพียงใด นอกจากนี้ควรมีการใช้เครื่องมือหรือวิธีการต่างๆ ที่จะตรวจสอบว่าสื่อการเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใด ซึ่งอาจใช้วิธีการสังเกต การตั้งคำถามการใช้แบบทดสอบหรือการสอบถามโดยตรง 5. การประเมินโดยใช้สื่อการเรียนรู้ เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการใช้สื่อมาวิเคราะห์ให้เกิดความชัดเจนว่ามีอุปสรรคปัญหาจากการใช้อย่างไร มีความเหมาะสมกับกิจกรรมและกลุ่มผู้เรียนในระดับใด โดยต้องพิจารณาลักษณะทางกายภาพของสื่อและสาระที่สื่อสารออกไปยังผู้เรียน บางครั้งสื่อการเรียนรู้ที่นำมาใช้นั้นอาจมีความเหมาะสมด้านกายภาพ แต่คุณค่าในด้านสาระยังไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย การประเมินจะช่วยในการตัดสินใจและใช้สื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อๆไปหรือพัฒนาโดยการ
อ้างอิงจาก กระทรวงศึกษาธิการ.(2544).คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ
|